พุยพุย

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 4

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2559


บรรยากาศการเรียนการสอน



    วันนี้อาจารย์ได้ให้ นักศึกษา พรีเซ็นงาน ตามกลุ่มที่ได้ให้ไว้ ด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคม พอพรีเซ็นเสร็จ อาจารย์ ก็ได้ ทฤษฏีของกลุ่มตนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่าไง พอพรีเซ็นเสร็จครูก็ปล่อย


สาระความรู้ที่ได้รับ


กลุ่มแรก    ด้านร่างกาย 
ทฤษฎีแรกคือ  ทฤษฎีของกีเซล แบ่งออกเป็น 4 ด้าน
1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ 

ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด 

 2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ 

ประสานงานระหว่างตากับมือ

 3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและ

ท่าทางการเคลื่อนไหว 

 4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง 



ทฤษฏีที่ 2 ทฤษฏีการเรียนรู้ ของ บรูเนอร์

ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิด ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ 4 ข้อ คือ

1.แรงจูงใจ (Motivation) 
2.โครงสร้าง (Structure)
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง(Sequence)
การเสริมแรง (Reinforcement

บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ขั้นการกระทำ
2.ขั้นคิดจินตนาการ หรือ มนภาพ
3.ขั้นใช้สัญลักษณ์และ คิดรวบยอด
    ต้องรู้สิ่งต่างๆในการสอนของเด็ก เช่น ความพร้อม สิ่งแวดล้อม

กลุ่มที่ 2 ด้านสติปัญญา
  ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์  เน้นการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งผล (Law of Effects)
 ทฤษฎีต่อมาเป็นทฤษฎีของ  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
 เน้นพัฒนาการด้านสติปัญญา ถือว่าให้เด็กได้สัมผัสจะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้

พียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้เป็นสื่อในการกระตุ้นทางความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหากิจกรรมทางการเคลื่อนไหว โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งใหม่

กลุ่มที่ 3 ด้านความคิดสร้างสรรค์ ( อารมณ์ )
 ทฤษฏีการคิดสร้างสรรค์ ของกิลฟอร์ด
- ความคิดริเริ่ม
- ความคิดคล่องแคล่ว
ความคิละเอียดละออ
-ความคิดยืดหยุ่น

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์

     ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ  “The creative problem solving process”
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding)
 ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding)
 ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
 ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ( Solution – Finding) ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) 
  
 ขั้นตอนความคิดสร้างสรรค์ 4 ขั้น
- ขั้นเริ่มคิด
- ขั้นครุ่นคิด
- ขั้นเกิดความคิด
- ขั้นปรับปรุง


ฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
ความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึก หากเด็กรู้สึกอย่างไรก็จะมีการแสดงออกและเคลื่อนไหวออกมาแบบนั้น เช่น เด็กฟังเพลงเด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อเพลงๆนั้น เด็กก็จะเคลื่อนไหวและแสดงออกมาตามบทเพลงที่เด็กได้ฟัง

กลุ่มที่ 4 ด้านสังคม

ทฤษฎีของอิริคสัน
อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น แต่ปฐมวัยมี 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
 ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
 ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด 
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา 


การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบบ                สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process) 
2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process) 
3.กระบวนการแสงออก (Motor Reproduction Process )
4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process) 

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



       ครูให้นักศึกษา ดูคลิป stop teen mom เพื่อที่จะให้นักศึกษาดูการสอนที่แปลกใหม่และดี



พอดูเสร็จครูก็ให้เริ่มกิจกรรมแรกคือกิจกรรมก่อนการเรียนการสอน คือ การบริหารสมองทั้ง 2 ซีก


พอฝึกการบริหารสมองแล้ว ครูก็เปิดเพลงให้นักศึกษาทำท่าออกกำลังกาย แล้วออกมานำคนละ 1 ท่า
 พอเสร็จจากการเคลื่อนไหวกันแล้ว ครูก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนคิดท่าออกกำลังกายมา 10 ท่า โดยเรียงจาก ท่า ง่าย ก่อนไปถึงถึง ท่ายาก
ครูให้เวลาในการให้แต่ละกลุ่มเสร็จแล้วก็ออกมาทำให้เพื่อนๆดู
นี่คือ สุดยอด กลุ่ม5555



เริ่มเลยยยยยย










การนำความรู้ไปประยุคต์ใช้
นำความรู้ที่ได้จากการจักกิจกรรมการเคลื่อนำหวและจังหวะไปปรับใช้ในอนาคตได้ และ ได้รู้ถึง ทฤษฏีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
เข้าใจเนื้อหาที่ครูสอน ตั้งใจฟัง และทำกิจกรรมต่างๆอยู่ตลอดและเต็มที่กับมัน
ประเมินเพื่อนๆ
เพื่อนๆตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างมาก โดยมีท่าที่แปลกใหม่และหลากหลายมาให้ดูเสมอ
ประเมินอาจารย์
ครูน่ารักมากๆสอนได้เข้าใจ และสนุก มีวิธีการสอน และเทคนิคการสอนที่หลายหลายที่นำมาสอนนักศึกษาอยู่เสมอและสนุกทุกครั้งที่ได้เรียน


 

ทฤษฎีอัลเบิร์ต แบนดูรา
 ษฎีอัลเบิร์ต แบนดูราทฤษฎีอัลเบิร์ต แบนดูรา